ไกด์พาเสียทรัพย์ – รีวิว Xiaomi AIoT AX3600 Wi-Fi 6 Router (Global Version) ตัวดีตัวค่าแรง Ping Time นิ่งมากในราคาไม่แพงคุ้ม 2,799 บาท ประกันศูนย์ไทย

#รีวิว #Xiaomi #Wifi #AX3600 #AIoT #Wifi6 #Internet #Router

จะว่าอย่างนั้นก็ได้นะ เพราะว่าตัวนี้เหมือนแฟนเพจ ลูกเพจที่ตาม ถูกเสมอ รีเควสมา

อยากเห็นอยากรู้ว่า Router AX ของ Xiaomi มันเป็นไงนะส่งสัญญาณรอบบ้านดีรึเปล่า กับขนาดบ้าน 2 ชั้น ราว 70-90 ตรว. ซึ่งก่อนหน้านี้แอดได้ตัว TP-Link Archer AX50 (AX3000) Wi-Fi 6 Router มาลอง

อ่านโพสเก่า TP-Link Archer AX50 : https://cheaplost.com/?p=25

ซึ่งถ้าให้บอกเล่าในโพสนี้ถึงความแตกต่างใน ค่าตัวที่ไล่ ๆ กันนิดหน่อยระหว่าง TPLink Archer AX50 (AX3000) ก็ต้องในแง่ Spec CPU ที่ต่างกันตามนี้

TPLink Archer AX50 – CPU Intel Dual Core (แอดหารุ่น CPU ไม่เจอนะว่ารุ่นอะไรที่นำมาใช้งาน)
Xiaomi AIoT AX3600 – CPU มี 2 ตัวคือ Qualcomm   IPQ8071A 4-core A53 1.4 GHz  และ CPU  Network processing unit (NPU) ROM  Dual-core 1.7 GHz เป็นตัวประมวลผลด้าน Network ด้านสัญญาณเน็ต

ทีนี่จากข้างต้นทำให้แอดสงสั๊ยยย สงสัยแต่ไม่ต้องแก้กระสัยแบบหาหมอนวดเฉพาะทางเลยกดจาก Shopee ร้าน Super IT Mall ประกันศูนย์ จากการสืบ ๆ ก็ประกันผ่าน Synnex นี่แหละ ประกัน 1 ปี เลยกดมาตอน 12.12 ตัว Router เป็นแบบ Global Rom (ENG) แบบลดแรงโค๊ดลดเอาเรื่องอิอิหรรม

ถ้าสนใจอยากตำหลังจากอ่านโพสนี้จบก็สอยได้เรยเน้อ ใน Shopee:     ร้านอื่น ๆ ตามนี้ก็มี 

  • ร้าน  Thai Super Phone  –  
  • ร้าน Ecosystem Mall – 
  • ร้าน  QKZ Official Store –
Code 8% ลดตอนนี้ที่ใช้ได้ : G3KRMLGL ถึงช่วงวันนี้ 22/12/2020 จบวัน 00.00 น. ก็ปิ้ว ๆ เน้อ ลดสูงสุด 250 บาท แล้วก็ APAMCVY6 ลด 10% ลดสูงสุด 150 บาท ตบด้วย UB4CNSRZ Coins Cash Back 7% ได้ Coins กลับสูงสุด 1,000 Coins  

หน้าตากล่องมันใหญ่มาก

เปิดกล่องมา ของตรงกับในภาพของเว็บ Xiaomi https://www.mi.com/global/mi-aiot-router-ax3600/specs/ พร้อมแล้วก็ลุยใช้งานเล้ยย ไม่เน้น Unbox ให้เสียเวลา

ไฟแสดงสถานะการทำงานของ Xiaomi AIoT AX3600  มีอยู่ 2 จุดที่สังเกตได้คือตรงด้านหน้า และตรงเสาอากาศเสากลางจะมีไฟ LED บอกสถานะการทำงานอยู่

ตัวกล่อง กับบอร์ดีโดยรวม ใครไม่เคยเจอหรือสัมผัสมาก่อนจะบอกว่า ขอว่าแบบหยาบ ๆ นะ “แม่งใหญ่ฉิบหายกล่องใหญ่มากเมิง”  ครับโครตใหญ่เลยแอดได้รับมาตกใจกล่อง Router ไรหว่าใหญ่จริงแต่ไม่หนัก นะ โดยรูปทรงมันก็ล้ำ ๆ เหมือนอุปกรณ์ประดับตกแต่งดั่งเฟอร์นิเจอร์ในบ้านเลย

ด้านหลังตัว Router Mi AIoT AX3600 มี Port Gigabit Ethernet (Lan) ให้มา 4 Port , ช่องเสียบสายไฟเลี้ยงจาก Adapter และ Reset Switch เอาไว้เราตั้งค่าผิดหรือลืมรหัสผ่าน (ไอ้ตรงนี้แหละที่ตอนเราไม่อ่านให้ดีตอน Config ครั้งแรกจะทำให้พลาด แอดก็พลาดไป 2 รอบลืมอ่านจุดนี้ให้ดี แบบถึงว่าสิใส่รหัสผ่าน Admin เข้าไป Config ต่อไม่ได้ฮา 

Trick มันมีแค่ว่า เวลาเราตั้งรหัส ที่คล้าย ๆ Quick Setting ผ่านหน้า Config ครั้งแรก “รหัสผ่านของ Wi-Fi Router ที่เราตั้งไปมันก็จะไปตั้งเป็นตัวเดียวกันกับ รหัส Admin ผ่ามมม!!! ถ้าอ่านดี ๆ ก็ไม่พลาดแล้วตรู” ดังนั้นที่แอดวงไว้ในภาพประกอบคือ ถ้าเราติกออกนะ

 

เราจะสามารถเลือกได้เลยว่าจะไปตั้งรหัสผ่าน Admin ภายหลังได้โดยไม่ต้องใช้รหัสผ่านเดียวกันกับ รหัสผ่านที่ตั้งไว้ใช้สำหรับชื่อ SSID นั้นเอง

มาดู Tech Spec: 

 

ตัว  Xiaomi AIoT AX3600 Wi-Fi 6 Router นี้รองรับอุปกรณ์ที่ Connect กับตัว Router ได้สูงสุดถึง 248 เครื่องด้วยกัน 

และยังมี OFDMA + MU-MIMO เข้ามาช่วยในเรื่องการกระจายสัญญาณให้ทั่วถึงและให้ค่า Latency ของสัญญาณที่ต่ำ จุดนี้เองที่ทำให้ได้ค่า Ping Time ต่ำและนิ่งมากไม่ว่าจะอยู่จุดใดในบ้าน

 

การ Config – Setup 

แอดแนะนำอ่านคู่มือให้ดี กว่าแอดจะทำเสร็จกด Reset ไป 2 รอบด้วยเหตุผลเดียวคือ ลืมดูหัวข้อนึงไป แนะนำว่าควรทำบนมือถือดีที่สุดโดยวิ่งผ่าน 

URL IP Address: https://192.168.31.1/init.html#/home หรือ  https://router.miwifi.com//init.html#/home

แล้วกด Enter ในช่อง Address ของ Web Browser บนมือถือจะใช้ Google Chrome , Firefox หรือ Web Browser เดิมที่ติดมากับแบรนด์ของมือถือได้หมดไม่เกี่ยง

พอเข้าได้แล้วเราก็จะเจอตา Config ต่อไปนี้

 

 

อนึ่งก่อนทำแนะนำว่า เราควรจัด Config ที่ Router ของผู้บริการ Internet ให้เสร็จก่อนเช่น ปรับเป็น Bridge Mode เพื่อให้ ตัว Mi Router AIoT AX3600 เป็นตัว Dial Up ผ่าน Protocol PPPoE Mode หรือถ้าไม่ทำก็ตั้ง Mi Router AIoT AX3600 เป็น แบบ Access Point Mode ก็ได้เช่นกัน อ่ะบทความนี้แอดไม่เน้นเรื่องการทำ Tag Vlan นะเพราะจะเน้นเทสเรื่อง Speed Test กับค่า Benchmark ที่ได้จากการวัดรอบบ้านเท่านั้น

Mi Wifi for Android: https://play.google.com/store/apps/details?id=com.xiaomi.router
Mi Wifi for iOS: https://apps.apple.com/us/app/mi-wi-fi/id859962702

 

ในส่วนของแอป แนะนำว่าให้โหลดมาติดตั้งบนมือถือเราก่อนรอไว้เลยก็ได้ชื่อแอป Mi Wifi ซึ่งตัวนี้จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานทุกอย่างของตัว Router ตั้งแต่ตั้งชื่อ เปลี่ยนชื่อ Wi-Fi Router , ทำ Smart Connect รวมชื่อ SSID ของ Wifi จาก 2.4GHz , 5GHz ให้เป็นชื่อเดียวกัน หรือตั้งค่า QoS จำกัดความเร็วของแต่ล่ะอุปกรณ์ที่เข้ามาเชื่อมต่ออยู่ให้เหมาะสมต่อการใช้งานไม่ให้กิน Bandwidth Internet จนอั้น

 

** การตั้งค่า Bandwidth ใน Mi AIoT AX3600 Router มีข้อจำกัดเรื่องค่าการตั้งแบบ Manual อยู่คือ ค่า Upload จะได้สูงกว่าค่า Download Max ที่  2048 Mbps , Upload Max ที่ 10,000 Mbps

 

หรือเบียดกันจนเกินไป เป็นการจัด Priority ของ Traffic ข้อมูลที่วิ่งเข้าออกให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามการใช้งานของแต่ล่ะอุปกรณ์ หรือกระทั่งเช็คอัพเดต Firmware ก็ผ่านแอปของ Mi Wifi ตัวเดียวทั้งหมด

 

หรือเชื่อมต่ออุปกรณ์ทำ Mesh เพิ่มก็ผ่านแอปตัว Mi Wifi นี้ได้ตัวเดียวจบเช่นกัน

Benchmark

ในการทดสอบเหมือนเดิม Network Diagram ในบ้านแอด ซึ่งเอาจริง ๆ ตอนทดสอบ ตัดแยกเฉพาะเน็ตออกมาไม่ได้เชื่อมต่ออุปกรณ์อื่น ๆ แบบใน Diagram จะเหลือทำเหมือนชาวบ้านทั่วไปที่ต้องการใช้งานงานเน็ตในบ้านแบบไม่เอา Router ของผู้ให้บริการตัวเดิมเช่น ZTE , Huawei มาเป็นตัวกระจายสัญญาณ Wi-Fi แต่จะเอา แบบอื่นเช่นที่แอดทำเป็นต้นก็ เอา Mi AIoT AX3600 Router 

Result – ผลการทดสอบ

ในส่วนเซสชั่นนี้แอดจะไล่ทดสอบที่ล่ะจุดในบ้าน เพราะคิดว่าบ้าน 2 ชั้นหลายคนก็ต้องถามตัวเองว่า ทำไง๊ไงให้เน็ตแรงพอทั่วบ้านได้แบบพอเพียง จาก Router Wi-Fi ที่จะสอยมาใช้เพียงตัว หรืออ่านโพสนี้จบ
เอ้ยงั้นสอยมันซะ 2 ตัว 3 ตัวไปทำ Mesh เจ็บจบเลยดีกว่าอ่ะก็ไม่เลวอิอิหรรม

Floor 1

 

Floor 2

จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า บางจุดของบ้านยิงได้ไกลมาก ยิ่งหน้าบ้านนี่คือสบายมาก ยิงทะลุมาได้ 100Mbps โดยเฉลี่ย ซึ่งต้องบอกว่า เหมาะกับการเอาไว้ Video Call คุยกับเพื่อน คุยกับแฟนตอนยืนหน้าบ้านมากอิอิ ส่วนในสวนหน้าบ้าน ก็อาจจะโดนเบี่ยงสัญญาณเพราะเอาเข้าจริงตัว Router อยู่ที่ห้องนอนชั้นบน แต่สวนหน้าบ้านอยู่ด้านซ้ายมือ สัญญาณเลยตกลงไปอีก ซึ่งถ้าเราอยากให้สัญญาณวิ่งดีกว่านี้ คงต้องทำ Mesh หรือการซื้ออุปกรณ์มาเพิ่มไว้ที่ชั้นล่างล่ะ ส่วนห้องทำงานแอดชั้นล่างไม่มีปัญหา ยังพอรับส่งสัญญาณหลัก 100Mbps ได้ก็น่าพอใจอยู่

คำถามคือ ทำไมสัญญาณไม่นิ่ง วิ่งไม่เป็นมันมีหลายปัจจัยนะ ในแง่ Barrier ที่มาข้างเช่น พนัง อิฐ ปูน กระจก หรืออื่น ๆ ที่หนา และอุปกรณ์ไกลจาก Router เป็นต้น

Mi Box S – Internet speed test with 2.4GHz and 5GHz

อ่ะอีกข้อในแง่การทดสอบ Test Speed อย่าลืมนะว่าเวลาเรากดเทส ผลที่ได้แกว่งหรืออื่น ๆ มาจากปัจจัย Node ปลายทางด้วย ถ้ายิ่งไกลยิ่ง Respond กลับมาช้า ซึ่งจะเห็นได้จากการที่แอดเอา แอป Test Speed ที่รันได้เฉพาะ Mi Box S หรือพวก Android Box มากดเทส ซึ่งอาจจะมีค่า Pre-Fix Server หรือ Node ปลายทางอยู่ไกล เลยได้ผลตอบกลับมาช้าค่า Ping Time สูง เป็นต้น 

ทางที่ดีใครอยากลองเปิดเว็บ Fast.com ที่รองรับโดย Netflix เช็คดูได้ตามภาพประกอบ – ในภาพแอดรวบย่านความถี่เข้า Smart Connect เรียบร้อยแล้วเหลือ SSDID เพียงชื่อเดียวใน Mi AIoT AX3600 Router

ต่อกับ Computer PC ผ่านสาย

จัดว่าแจ่มแมว เลย ทีเดียว แต่ในยุคหลัง ๆ มานี่ผู้ใช้ตามบ้านส่วนใหญ่มักเชื่อมต่อ Wi-Fi ในบ้านมากกว่าเชื่อมต่อผ่านสายล่ะเน้อ แอดก็ด้วยถ้าเป็นไปได้ก็อยากเอาสาย Lan ออกแล้วต่อ AX Wi-Fi ให้หมดแทน

เทสโหลด Patch Game กับ Samsung Galaxy S20FE ได้ Bandwidth Speed
ที่ 8100Kbps (คิดเป็น Mbps ก็ 8.1 Mbps )

Comparison with Archer AX50 (AX3000) Wi-fi 6 Router

เป็นการวางข้อเปรียบเทียบให้เห็นนะว่าตัวไหนดีกว่าหรือด้อยกว่า แต่ทั้ง 2 ตัวมีข้อดีข้อด้อยต่างกันไปเน้อ ดังนั้นก็อาจจะทำให้คนคิดหนักพอสมควร เพราะราคามันก็ต่างกันนิด ๆ หน่อยเท่านั้น ซึ่งถ้าเทียบกราฟก็เห็นชัดกันพอตัวเลย ในแง่ระดับสัญญาณที่วิ่งรับส่งข้อมูลกับความเร็วได้ชัดเจนเลยทีเดียวเอาไว้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นสำหรับคนที่อยากซื้อ Router Wi-Fi 6 งบ 2,000-3,000 บาท ไม่เกินนี้

Verdict.

โดยรวมแอดมองว่าตัว Xiaomi AIoT AX3600 Wi-Fi 6 Router ใช้งานง่ายนะ Config ไม่ยากทุกอย่างทำได้ผ่านแอป Mi Wifi ซึ่งถ้าใครมีอุปกรณ์ Xiaomi ที่รองรับการเชื่อมต่ออยู่แล้วในบ้านก็จับมา Connect ควบคุมการทำงาน หรือ Monitoring ผ่านมันได้เลย ก็จะสะดวกขึ้น รวมไปถึงการทำ Mesh ซึ่งนี่ถ้าแอดสอยมาอีกตัวนะ จะลองทำ Mesh เลยดูแล้วน่าจะแรงรอบบ้านกว่านี้อิอิหรรม แต่ส่วนใหญ่แอดก็ไม่ได้ใช้อะไรมากนัก ใช้พื้น ๆ ทั่วไป กับเน็ตที่ต่อกับมือถือเอาไว้เข้าแค่ Facebook, IG , Line ดูข่าวออนไลน์ HD , FHD ก็เกินพอ และไม่สะดุดเอาแค่ยิงถึงห้องทำงานได้ก็หรูแล้วจ้า 

ดี กว่า TPLink Archer AX50 มั๊ย?
ตอบดีกว่า แต่ก็มีดีคนล่ะแบบนะก็คือ “ในแง่การเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT” ถ้าใช้อุปกรณ์ TPLink ที่เป็น IoT ด้วยกันในยี่ห้อเดียวกันมันก็ดูดีนะ แต่ในความเป็นจริงแล้วเราก็สามารถข้ามแบรนด์ได้อยู่ดีเช่นเอา หลอดไฟ Tapo ของ TPLink มาต่อผ่าน Wi-Fi Router ยี่ห้ออื่น ๆ ได้ แต่จุดที่เห็นได้ชัดจริง ๆ คือเรื่องคุณภาพสัญญาณที่ได้ตัว TPLink ยังมีจุดที่อาจจะต้องนำไปทำการบ้านปรับปรุงเช่นเรื่องหน่วยประมวลผล แรงไม่พอ

เรื่องความนิ่งของสัญญาณตัวไหนดีกว่า

ตอบ Xiaomi ทำได้ดีกว่า เมื่อเทียบต่อราคาแล้ว Mi AIoT AX3600 กินขาดจริง ๆ ในแง่เรื่องการคงรักษาประสิทธิภาพ การเชื่อมต่อที่ให้ค่า Ping Time นิ่งตลอดในการรับส่งสัญญาณและข้อมูลไปมาระหว่าง Router <=> Device

ซึ่งดูได้จาก เน็ตก็เส้นเดียวกันคือ AIS Fibre แต่อุปกรณ์ปล่อยสัญญาณ อันนี้เห็นชัดเจนเมื่อเทียบกับ TPLink Archer AX50 ที่อาจจะมี Ping Time สูงกว่า Xiaomi AIoT AX3600 แค่ดูค่า Ping Time ก็พอทราบได้แล้วว่าตัวไหนทำงานได้ลื่นไหลและยิงสัญญาณได้ดีกว่า ก็เป็นคำตอบที่น่าคิดและน่าค้นหาต่อไปว่า Router ยี่ห้อไหนรุ่นไหน บีมสัญญาณให้ค่า Ping ต่ำและสม่ำเสมอกว่ากัน 

ภาพรวมในบทความนี้

ก็คือเป็นเหมือนการโดนรีเควสจากลูกเพจ และสนองนีทแอด กับโดนเพื่อนแอดป้ายยามารัว ๆ ว่าเอ้ยของมันดีจริงเมิงไม่ลองวะกูโดนไปสองตัวแล้วไรงี้ เห…. โดนแล้วจ้าโดน 12.12 นี่แหละ แตก 1 ซึ่งก็เป็นจุดที่ทำให้แอดต้องเอามาพรีเซนต์ให้และนำมาหาคำตอบให้ชม ก็ไม่หวังอะไรนะอ่านแล้วชอบ ก็แชร์วนไป ถ้าชอบมากก็กดสอยตามเพราะตัว Xiaomi AIoT AX3600 Wi-Fi 6 Router ดีจริงตามที่เพื่อนแอดโม้และป้ายยาแอดมาอีกที Very Good

#แอดเบอร์2เมีย7ลูก11

Back to Top
Back to Top
Close Zoom