***บทความนี้จะแปลตรงๆ เถื่อนๆ ก็คือ “เอามัน” “เก็บมัน” “รับไปซะนะเห้ย” ความรู้เรื่องราวที่น่าสนใจ ราวๆ นี้ แต่ที่จะสื่อในบทความคือการให้ความรู้สิ่งที่ขาดหายไปในเพจมาลงใน Blog เน้อ

#SSD #SOFTWARE #TOOLBOX #BLOG

BLOG โพสนี้เอาใจคนซื้อ SSD ไปใช้แต่บางคนไม่รู้ว่า มันมี Toolbox , Utilities ของตัวแบรนด์ที่ทำออกมาแอดเลยมองว่า ซื้อไปใช้อย่างเดียวก็ไม่ค่อยคุ้มเท่าไหร่เพราะ Toolbox เหล่านี้บางตัว ช่วยให้เราเข้าใจการทำงานของ SSD ดีขึ้นหรือกดทำ Caching ร่วมกับแรมที่มีเหลือในเครื่อง (คนใช้แรม 16GB / 32GB จะคุ้มมากขึ้นกับ Feature เหล่านี้) , Update Firmware หรือสถานะของอุณหภูมิของตัว SSD ที่กำลังทำงานรวมไปถึงไว้ดู Life Cycle อายุการใช้งาน หรือกระทั่ง Format Disk , ล้างลบ Disk ผ่านเครื่องมือ Function – Secure Erase ได้โดยไม่ต้องง้อเครื่องมือพวก SSD Boot Disk อันนี้ก็นับว่าสะดวกสบายมากทีเดียวเน้อ

เราลองมาไล่ๆ กันดูว่ามันจะมี Toolbox อะไรบ้างเท่าที่แอดมินนึกออกเน้อ

ADATA SSD TOOLBOX: https://www.adata.com/us/ss/software-6/

Crucial Storage Exclusive: https://www.crucial.com/usa/en/support-storage-executive

ที่แอดลงไว้ค่อนข้างบ่อยและเคยแจ้งไปแล้วในเพจว่ามี Toolbox ให้เลือกใช้นะ แต่ก็อาจจะมีคนที่ไม่ได้ติดตามเพจมองข้ามหรือไม่ทราบว่ามันมีอยู่ โดย SSD หลายๆ รุ่นของ Crucial รองรับกับ Storage Excluesive Toolbox แต่ส่วนใหญ่มักครอบคลุมทุกตัว ซึ่งนอกจากจะมี Feature เด็ดอย่าง Momentum Cache แล้วยังมี Over-Provisioning ช่วยยืดอายุการใช้งานของ SSD ออกไปได้อีก

*** Over-Provision มีทั้งจุดดีจุดเสียถ้ามีให้ใช้ก็ใช้ไปได้เลยเปิดใช้ได้ครับแต่ข้อเสียคือเราจะเสียพื้นที่เปล่าๆ ที่ไม่ได้ใช้ไปราวๆ 1-50% ของพื้นที่ Disk และแย่สุดถ้าพื้นที่เต็มต่อให้… เปิด OP หรือ ไม่เปิด OP ก็ใช่ว่าจะดี แต่การเปิดไว้อาจจะมีข้อดีตอนใช้งานที่จะได้ประสิทธิภาพและตัว SSD มีอายุยาวขึ้นมาอีกนิดส์นึง ส่วนอธิบายอื่นๆ ลองอ่านจากการ

ยืมข้อความจากบทความเกี่ยวกับ Over-Provisioning จากเว็บคุณ Kafaak https://kafaak.blog/2018/11/26/ทำความเข้าใจเรื่อง-ssd-over-provisioning/ ประกอบล่ะกันเน้อ

Gigabyte Auros SSD ToolBox: https://www.gigabyte.com/Solid-State-Drive/AORUS-NVMe-Gen4-SSD-500GB/support#support-dl-utility

Intel SSD Toolbox: https://downloadcenter.intel.com/download/28808/Intel-Solid-State-Drive-Toolbox?product=80096

Kingston SSD Manager: https://www.kingston.com/en/support/technical/ssdmanager

Lexar SSD Dash : https://www.lexar.com/support/downloads/

จะบอกว่าแปลกใจอยู่เล็กน้อยเพราะ Lexar ไม่น่าจะมี Toolbox แต่ก็กลับมีมาให้ใช้ดังนั้นแอดกำลังมองมันใหม่ล่ะเน้อ ว่ายี่ห้อนี้ชักจะไม่ธรรมดาซะล่ะในแง่ของ Toolbox Software ถ้ามีเข้ามามันก็น่าใช้งานขึ้นล่ะเน้อ แปลกอีกอย่างคือเจ้า Lexar SSD Dash ที่เป็น Toolbox นี้แถบไม่ต้องติดตั้งแต่สามารถคลิกรันได้เลยเป็นเหมือน Portable Software

Micron Storage Exclusive: https://www.micron.com/products/solid-state-drives/storage-executive-software 

EXE Files : https://www.micron.com/-/media/client/global/documents/products/software/storage-executive-software/storageexecutive_windows.exe 

ถ้ามองกลับไปที่ Crucial Storage Exclusive  ก็คือตัวเดียวกันเน้อ อย่างใครซื้อ Notebook Dell หรือแบรนด์ OEM PC อาจจะเจอก็สามารถดาวน์โหลดมาใช้ด้วยกันได้ แถมสามารถใช้งานได้ทุก Feature ที่มีด้วยเน้อแถบไม่ต่างกับ Crucial เพราะมันคือบริษัทเดียวกันแค่ Crucial คือ Sub-Brand ของ Micron อีกทีนึงที่ทำสินค้ามาเจาะตลาด Consumer โดยตรง

Plextor Plextool: https://www.goplextor.com/Support/Downloads

อันนี้ต้องอธิบายไว้นิดนึงเพราะทาง Plextor ได้ซอย Plextool จำแนกรุ่นให้ตรงกับ Interface ของ SSD เอาไว้

SAMSUNG MAGICIAN: https://www.samsung.com/semiconductor/minisite/ssd/download/tools/

SanDisk SSD Dashboard Installer: https://kb.sandisk.com/app/answers/detail/a_id/15108/~/sandisk-ssd-dashboard-support-information

SanDisk SSD Tool Kit: https://www.techspot.com/downloads/5363-sandisk-ssd-toolkit.html

อันนี้เป็นรุ่นเก่ามากแล้วเน้อสำหรับ SSD Toolbox ของ SanDisk ถ้าจะใช้งานสำหรับรุ่นใหม่ๆ ต้องโยกไปตัว SanDisk SSD Dashboard แทนล่ะเน้อ

SiliconPower – SP ToolBox SSD: https://www.silicon-power.com//web/download-ToolBox

Seagate SeaTools SSD GUI: https://www.seagate.com/as/en/support/downloads/seatools/

Teamgroup SSD ToolBox: https://www.teamgroupinc.com/en/support/download.php

Toshiba (OCZ): https://ssd.toshiba-memory.com/en-amer/download/

ยี่ห้อนี้บ้านเรายังมีขายอยู่เน้อตัว Toshiba แต่อาจจะเจอแบบคาตู้ๆ ตามหน้าร้านเพราะส่วนใหญ่ทาง Toshiba เปลี่ยนมาเป็นการผลิตเม็ด NAND Flash ขายหรือรับเป็น OEM ซะมากกว่า 

Transcend SSD Scope: https://www.transcend-info.com/Support/Software-10

WD – Western Digital SSD Dashboard: https://support.wdc.com/downloads.aspx?p=279

Verdic

ทั้งหมดที่สำรวจสรุปก็ไม่ได้หวังสิ่งใดแค่อยากชี้ให้คนที่กำลังจะซื้อ SSD ได้มีมุมมองคิดก่อนซื้อเพราะ
การซื้อ SSD บางครั้งเราซื้อตัวรุ่นประหยัดๆ ไม่มียี่ห้อส่วนได้ส่วนเสียก็มี เช่นไม่ได้รับ Support ด้าน Software หรือพวก Toolbox ที่มาช่วยเสริมหรือดึงประสิทธิภาพ ถ้าสังเกตดีๆ ในเพจแอดจะเคยบอกไว้ว่า ซื้อ SSD ที่มี Support ด้าน Software ประกบเข้ามาด้วยก็จะดีมากอาจจะราคาสูงกว่าแบบพวก ยี่ห้อไร้นาม แต่สิ่งที่ได้มันต่างกันเน้อ จ่ายเพิ่มอีก 100 บาท เราได้สิ่งที่ดีกว่าคุ้มค่ากว่ามันก็น่าลงทุนไม่น้อย
เน้อ จบเท่านี้ 

#ถูกเสมอ #เมียเผลอบัตรพัง #Cheaplost
#อยากโดนป้ายยาเป็นหนี้มาหาพี่

Back to Top
Back to Top
Close Zoom