หน้าที่หนึ่งของประชาชนก็คือการเสียภาษีและยื่นภาษี นอกเหนือจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่เราจ่ายในการซื้อของตามปกติแล้ว ก็มี ‘ภาษีเงินได้’ จากค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย กำไร และอื่นๆ ที่หากเกิน 150,000 บาท/ปี จำเป็นต้องแจ้งกรมสรรพากรให้รับทราบรายได้
ยื่นภาษีหากเกินกว่า 300,000 บาท/ปี หากลดหย่อนเต็มที่แล้ว ก็เข้าข่ายที่ต้องเริ่มจ่ายภาษีเข้ารัฐปีที่ผ่านมา หลังจากที่กรมสรรพากรปรับระบบให้ใช้ e-Filing เต็มตัว ยอดประกันเอย ยอดลดหย่อนบริจาคทุกอย่างแอดแมวดึงเข้าระบบเรียบร้อย
แต่พบว่าระบบยื่นภาษีมันเปลี่ยนครับ สิ่งที่เปลี่ยนไปมากที่เราสังเกตได้จะมีอยู่ 2-3 ประการ
1. อาชีพอิสระที่แจ้งรายได้ผ่านมาตรา ๔๐(๘) ตามประมวลรัษฎากร เหมาจ่ายลดหย่อน 60% แทบจะทำไม่ได้แล้วนะ ปีนี้ e-Filing ปรับระบบดุมาก คือนอกจากจะต้อง Declare ที่มารายได้ชัดเจน ห้ามเนียนลดหย่อนก้อน
ซึ่งมีทั้งกลุ่มนักแสดงและกลุ่ม Freelance ที่ได้รับผลกระทบเต็มๆ เพราะสรรพากรใช้ถ้อยคำประมาณว่า “ถ้าเป็นกิจการที่ใช้แรงงานเป็นหลัก ต้องยื่น ๔๐(๒) ที่ไม่มีลดหย่อนต้นทุน”
ที่หนักที่สุดคือมนุษย์หรือนิติบุคคลจดภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะรูปแบบใหม่สรรพากรต้องยื่นใบเสร็จรับเงินค่าใช้จ่ายเป็นหลักฐาน ในกรณีที่ใบเสร็จ เช่น วัตถุดิบร้านอาหาร ซื้อมาขายไปเป็นบิลเงินสด เท่ากับเหมือนต้นทุนลดหย่อนสูญ ค่าใช้จ่ายมารอแล้วทั้งๆ ที่ยังไม่ได้คำนวณกำไร
ตรงจุดนี้ เรียนตรงๆ ว่าปกติแอดแมวซึ่งเป็นทั้งแอดมินเพจนี้ เป็นพ่อค้าวิ่งรถซื้อขายผลไม้ และรับจ้างทั่วไปด้วย นอกเหนือจากงานประจำ การปรับวิธีการลดหย่อนดังกล่าวจะส่งผลกระทบมากๆ โดยเฉพาะคนที่ยังไม่ได้จดนิติบุคคล
ซึ่งอย่างที่รู้กัน กรมพัฒนาธุรกิจการค้าก็ชะลอการประกาศอนุญาตจัดตั้งบริษัทจำกัดคนเดียวไปแล้ว การจดนิตินั้นมีต้นทุน ชำระเรื่องเล็ก แต่ทำบัญชีกับบริคณห์สนธิเรื่องใหญ่
ดังนั้น กิจการรายย่อย SMEs หรือมนุษย์ทำงานหลายที่ โดยเฉพาะที่รายได้ฟรีแลนซ์ตามมาตรา ๔๐(๒) ถึง ๔๐(๘) เกิน 2,000,000 บาท/ปี ให้ระมัดระวังว่าเข้าข่ายที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำ ภพ. ๒๐ และต้องเก็บหลักฐานภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากผู้จ่ายเงินได้ทุกแหล่งไว้ลดหย่อนตรงสิ้นปีอย่างเข้มข้นนะครับ
เพื่อนแอดแมวพลาด 2 ดอก ทั้งลืมจด ภพ. ๒๐ ปีก่อน กับลืมยื่น ภงด. ๙๔ ปีที่แล้ว บอกเลยเจอค่าปรับย้อนหลังถึงกับกำไรสูญ
2. ผลพวงจากการคำนวณ Transaction และการติดตามบัญชีที่ลงทะเบียนไว้โดยเฉพาะระบบ PromptPay โดยไม่จำกัดธนาคาร
หลายท่านอาจจะลืมว่ากรมสรรพากรมีวิธีติดตามบัญชีที่มีความเคลื่อนไหวสูงหลายเกณฑ์ สองอย่างในนั้น คือ ยอดผ่านเข้าออกบัญชีเกินกว่า 2,000,000 บาท/ปี ซึ่งไม่ได้เยอะเลยสำหรับคนซื้อมาขายไป (ใช่ครับ แอดแมวก็เกิน เพราะมันมีค่าใช้จ่ายดำรงชีพ ค่าจ้างคนงาน ฯลฯ ทั้งที่กำไรหักภาษีเหลือปีแค่แสนนิดๆ)
กับอีกกรณีหนึ่ง คือ ปริมาณโอนเงินเข้าบัญชีเกินกว่าหลัก 2 หรือ 3 พันครั้ง นี่แหละ
ใครที่โดนทวงจดหมาย สรรพากร is watching you บอกเลยว่าถ้าไม่ยื่นภาษีเงินได้ ยังไงก็โดนย้อนหลัง อย่างน้อยๆ ที่สุดถึงจะยอดไม่เยอะ ลดหย่อนได้ แต่อยู่ดีๆ ต้องเสียค่าปรับฟรีๆ แถมต้องขุดบรรดาเอกสารทั้งหมดไปยื่นที่สรรพากรพื้นที่ แอดแมวบอกเลยไม่สนุก
ทั้งหมดนี้ รวมถึงคนที่ลืมยื่นกรณี ๔๐(๑) หรือพวกที่เรียกว่า “เงินเดือน/ค่าจ้างประจำ” ด้วยนะครับ
3.การคำนวณ “สภาพคล่อง” ในการบริหารจัดการกองทุน ประกัน และบริจาคลดหย่อนภาษี
อย่างที่รู้ หลายคน Cashflow ไม่ได้ดีเลิศ การทำประกันหรือกองทุนลดหย่อนภาษี เป็นสิ่งที่บริษัทรับประกันหลายรายพยายามอ้างประเด็นจูงใจเหล่านี้ประกอบการขาย
แต่เดี๋ยวก่อน แอดมาเบรกประเด็นแรกที่ควรให้ความสำคัญ คือ คุณมี “สวัสดิการรักษาพยาบาล” แบบไหนให้ใช้ ขอให้คำนึงถึงจุดนี้เป็นอย่างแรกครับ ถ้ามีประกันสังคมส่งปกติ หรือบัตรทอง สบายใจไปหนึ่งเปลาะ
แต่ให้คิดด้วยว่าเรามี Aging Society หรือคนที่เราต้องดูแลโดยเขาไม่มีเงินได้ประจำ/กำไร/ปันผล/บำนาญ หรืออื่นๆ ที่ต้องใช้เงินจากกระเป๋าเรายามฉุกเฉินด้วยมั้ย
หลายคนอาจไม่รู้ว่ามันมีเกณฑ์ลดหย่อนประกันที่แอดเรียกว่า “ลูกกตัญญู” หรือลดหย่อนจากการทำประกันให้พ่อแม่ ไปจนถึงการลดหย่อนประกันชีวิต/สุขภาพ ในรูปแบบที่ต่างกันของตัวเอง มีเพดานอยู่
เอาง่ายๆ เบี้ยเท่าไหร่ลดหย่อนยอดก่อนคำนวณฐานภาษี (เช่น จ่ายเบี้ยรวมคิดจากประกันชีวิตเป็นฐานก่อน รวมแล้วไม่เกิน 100,000 เอามาลดหย่อนหลังหักจากเพดาน ก็จะหักยอดสุดท้ายได้ตามฐานภาษี
เช่น คุณมีเงินได้รวมที่ฐานภาษีร้อยละ 15 = ลดหย่อนได้ 15,000) ซึ่งบวกลบคูณหารแล้ว อาจจะคุ้มนะครับ เพราะป่วยแบบ Inpatient หรือคนไข้ใน 1 ครั้ง กรณีฉุกเฉินอาจจะคืนละเกินครึ่งแสนได้ง่ายๆ สภาพทางการเงินคุณอาจจะพังทั้งปีหรือต่อเนื่องไปเลย การทำประกันช่วยได้มากจริงๆ
ประกันที่ควรพิจารณาทำก่อน แอดแมวให้ลิสต์ตามนี้นะ
- ประกันสุขภาพแบบ “จ่ายทิ้ง” คือพวกที่รักษาพยาบาล ในกรณีที่คุณไม่มีสวัสดิการรับรองใดๆ เช่น ไม่ได้เป็นข้าราชการ ไม่ได้เป็นพนักงานบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจ หรือบริษัท Tier 1-2 ที่ทำประกันกลุ่มดีๆ ควรพิจารณาทำก่อนแม้ว่าจะเคลมคืนไม่ได้แต่ก็ช่วยคุณได้ยามฉุกเฉิน
- ประกันชีวิตแบบ “บำนาญ” เป็นการฝึกออมเงินที่ดี และช่วยให้คุณมีสภาพคล่องในระยะยาว เพราะก้อนพวกนี้เราได้คืนทั้งหมดหากจ่ายถึงระยะเวลาเอาประกันหรือตามสัญญา
- ประกันชีวิตแบบปกติ ถ้าคุณทำอาชีพเสี่ยง มีห่วงกังวลหลังเยอะๆ แล้วฐานภาษีคุณเยอะพอที่จะจ่ายได้ จ่ายไว้อย่างน้อยการันตีว่าคนข้างหลังคุณจะไม่ต้องลำบากหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน
- ประกันอุบัติเหตุ พวกนี้เอาจริงๆ ทำพวกบัตรเดบิตดีๆ ก็ได้แล้วครับ หลายเจ้าแค่มีเงินคงบัญชีประมาณนึงก็เคลมได้เป็นล้านแล้ว ไม่ควรใช้กับตรงนี้ยกเว้นถ้าเงินเหลือจริงๆ
หลังจากพวกนี้คิดว่ามั่นคงแล้ว ค่อยว่ากันเรื่อง “กองทุน” ครับ เพราะหลายชนิดมันมีภาระผูกพัน เช่น RMF คุณต้องซื้อทุกปีนะ และถอนไม่ได้ก่อน 55 ปี ไม่งั้นจะโดนหักค่าปรับ+คืนเงินส่วนต่างลดหย่อน และอื่นๆ อันนี้แอดแนะนำสำหรับคนที่เงินได้สูงกว่า 50,000/เดือน และไม่มีสวัสดิการหลังเกษียณอายุ ค่อยคิดครับ
ส่วนเรื่องบริจาค ถ้าคุณคิดว่าฐานภาษีคุณเยอะจริงๆ แต่ประเมินแล้วพอจะมีช่องลดหย่อนจากการบริจาคอีก แอดแนะนำว่าให้หาบริจาค “ลดหย่อน *2” เช่น กองทุนเพื่อโรงพยาบาล การศึกษา ทำเมื่อไหร่ก็ได้ก่อนสิ้นสุดปีภาษี
สิ่งนี้ให้คิดว่า แทนที่จะส่งให้รัฐใช้ หรือเสียไปเปล่าๆ เราส่งให้พวกสร้างชีวิตคน ช่วยชีวิตคน หรือการกุศลโดยตรง โดยเราได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีติดปลายนวม ก็ไม่เลวฮะ แต่มันมีเพดานอยู่น่าจะราวๆ 10% ยอดจ่ายภาษีหรือราวๆ นี้ ไม่ใช่จ่ายเท่าไหร่ได้เท่านั้น
ที่สำคัญ อย่าลืมคิดถึง “ฐานภาษี” ตัวเองว่าเท่าไหร่ หลายคนงงตรงนี้ เข้าใจว่าจ่ายประกัน 100,000 = ลดหย่อนภาษีได้ 100,000 จริงๆ ไม่ใช่ เหมือนที่รัฐกระตุ้นด้วยชอปดีมีคืนก็เหมือนกัน 30,000 ที่จ่าย ถ้าคุณฐานภาษีไม่สูงจริงๆ คุณได้ประโยชน์น้อยมากถ้าของมันไม่ได้ถูกกว่าปกติจัดๆ
ทั้งหมดนี้ ก็ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนกันจากแอดแมวครับ และที่แน่ๆ สำหรับคนที่โดนจดหมาย “สรรพากร is watching you” แล้ว อย่าลืมยื่นนะ ไม่งั้นจะเปียกเป็นแมวในรูปนั่นแหละ
แอดแมว(เมา)
23/4/2565