ชอปดีมีคืน: ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่กันแน่!!?

แอดแมวเล่าเรื่อง #ลดหย่อนภาษี กันหน่อยครับ
เวลาอ่าน: 10 นาที

อยากบอกว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีของรัฐบาลเนี่ย ถ้าคุณไม่เข้าใจระบบภาษีเงินได้ อยากให้ศึกษาบทความนี้ก่อนที่จะพุ่งไปชอปเพื่อวัตถุประสงค์ “ลดหย่อนภาษี” ครับ

มาตรการ #ชอปดีมีคืน ปีนี้ เพิ่มเพดานรายการ E-Taxation หรือ E-TAX Invoice สำหรับการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งตรงถึงสรรพากร เป็นการส่งเสริมการใช้ระบบดิจิทัลเพื่อนำคนเข้าระบบภาษี ทำให้ยอดรวมที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ เพิ่มสูงขึ้นจาก 30,000 เป็น 40,000 บาท

https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/lorkhor/newsbanner/2022/12/cover_shopdee.jpg

ใครๆ ก็อยากชอปดีมีคืน????

แต่ 40,000 บาท ที่ว่า แอดแมวย้ำตรงนี้นะครับ
“มันไม่ใช่ยอดลดหย่อนภาษีส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่ม”

ย้ำอีกรอบ “ไม่ใช่ลดหย่อนภาษีชำระเพิ่มเติม” สำหรับคนที่เงินได้สุทธิทะลุเพดานแล้ว แต่เป็นในส่วนของการ “ลดหย่อนการคำนวณเงินได้สุทธิ”

อ้าว งงล่ะสิ? มาครับ อธิบายกัน แอดขอเป็นในส่วนของบุคคลธรรมดานะฮะ
_______

การคำนวณภาษีเงินได้ของกรมสรรพากรแต่ละปี ในส่วนของบุคคลธรรมดา ผู้ที่มีเงินได้ 150,000 บาท/ปี ขึ้นไป จำเป็นต้องยื่นรายการแสดงเงินได้ต่อกรมสรรพากร หรือ “เข้าระบบ”

โดยพื้นฐานก็คือ เงินเดือน = รายได้ตามประมวลรัษฎากร 4.1 ต้องยื่น ภงด. 91 และกรณีมีรายได้อื่น = ภงด. 90 ที่ต้องยื่นทุกปีก่อนสิ้นเดือนมีนาคมของปีถัดไปหรือแล้วแต่ประกาศเพิ่ม

นอกจากนี้ในส่วนผู้ประกอบอาชีพอิสระบางกลุ่ม จำเป็นต้องยื่นภาษีกลางปี ภงด. 94 และต้องรับผิดชอบเพิ่มเติมในการแสดงและออกเอกสารซื้อขายภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีมีรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือนมากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป นอกจากจะเป็นรายได้จากกิจการที่ได้รับการยกเว้น
_______

รายได้ทั้งหมดนี้ เรียกว่า #เงินได้พึงประเมิน เมื่อหักลดหย่อนต่างๆ เช่น แอดแมวเงินเดือน 20,000 = 240,000 บาท/ปี หักลดหย่อนลูกเมีย ได้ 60,000 พ่อแม่ได้อีก 60,000 และหักค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล หักเบี้ยประกัน หักบริจาค e-Donation ฯลฯ รวมๆ เหลือ #เงินได้สุทธิ ที่นำไปคำนวณอัตราภาษีแบบขั้นบันไดอีกที

Elevation ของขั้นบันไดภาษีบ้านเราเป็นแบบนี้ครับ คือคำนวณจากเงินได้สุทธิทั้งหมด แล้วนำมาประเมินดังนี้

รายได้ 0-150,000 บาท ยกเว้นอัตราภาษี

รายได้ส่วนที่เกิน 150,000 บาทแรก (150,001-300,000 บาท)
อัตราภาษี 5% (ภาษีที่ต้องเสียสูงสุดในขั้นนี้คือ 7,500 บาท หรือ 5% ของ 150,000 บาท)

รายได้ส่วนที่เกิน 300,000 บาทแรก (300,001-500,000 บาท)
อัตราภาษี 10% (ภาษีที่ต้องเสียสูงสุดในขั้นนี้คือ 20,000 บาท หรือ 10% ของ 200,000 บาท)

และจะเป็นขั้นบันไดแบบนี้ไปเรื่อยๆ

รายได้ 500,001-750,000 บาท อัตราภาษี 15% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 37,500 บาท หรือ 15% ของช่วงขั้นทั้งหมด 250,000)
.
..

รายได้ 750,001-1,000,000 บาท อัตราภาษี 20% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 50,000 บาท)

รายได้ 1,000,001-2,000,000 บาท อัตราภาษี 25% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 250,000 บาท)

รายได้ 2,000,001-5,000,000 บาท อัตราภาษี 30% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 600,000 บาท)

และส่วนที่เกิน 5 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีเต็มอัตราที่ร้อยละ 35

โดยทั้งหมดคำนวณจาก “รายได้สุทธิ = รายได้พึงประเมิน – รายการลดหย่อนทั้งหมด”

https://rd.go.th/fileadmin/user_upload/callcenter/Picture/line/7.jpg
แนวทางคำนวณภาษีเงินได้โดยสังเขป ข้อมูล: กรมสรรพากร
_______

เท่ากับว่าบางคนที่มีรายได้เข้าข่ายต้องเริ่มเสียภาษีแล้วแน่ๆ (เฉลี่ยคือเงินเดือนประมาณสามหมื่นบวกลบ) ก็จะเริ่มหาอะไรมาลดหย่อนภาษี เช่น ทำประกันสุขภาพ ประกันชีวิต หรือบริจาคฯ

แต่ทั้งหมดนั้น มันมีจำนวนสูงสุดของการลดหย่อนได้อยู่

ยกตัวอย่าง e-Donation (x2) ที่แอดแมวลงเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม = ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้ หรือตีกลมๆ แบบไม่คิดมากก็แบบนี้

กรณีสมมติ: เงินได้พึงประเมิน = 3 ล้าน

บริจาค (x2) 1.5 แสน > เอาไปลดหย่อนได้ 3 แสนบาท
บริจาคเกินกว่านี้? ก็ไม่ได้ลดหย่อนเพิ่ม เป็นต้น

แล้วค่อยเอาเงินได้สุทธิไปคำนวณอัตราภาษีเงินได้แบบขั้นบันไดอีกที
_______

อ้าว? แล้วแบบนี้ชอปดีมีคืนก็ไม่ได้หัก “ภาษีเงินได้” ตรงๆ สิครับ???

ถูกต้อง มันเป็นเช่นนั้น

สมมติคุณเงินเดือน 70,000 ตกปีละ 840,000 มีลดหย่อนทั้งหมด 240,000 จากกองทุน บริจาค ฯลฯ

เงินได้พึงประเมินคุณ = 600,000

ต้องเสียภาษี 3 ขั้นบันได รวม 42,500 บาท (ขั้นแรก 7,500+ขั้นที่สอง 20,000+ขั้นที่ 3 อีก 15% ของ 600,000-500,000 = 15,000) นั่นเอง

ซึ่งหลายคนเข้าใจผิดตรงนี้ แอดขอย้ำว่า!!!!

❌ ถ้าคุณซื้อของชอปดีมีคืนอีก 40,000 ไม่ใช่คุณจะเสียภาษี 42,500 – 40,000 บาท นะครับ!

✅ แต่คุณจะเสียภาษีที่ขั้นบันได 600,000 ลดไป 40,000 จนเงินได้สุทธิ = 560,000 หรือเสียภาษีที่ 3 ขั้นบันได รวม 36,500 บาท (ประหยัดภาษีไปได้ 6,000 บาท)

⚠️
ซึ่งถ้าคุณเป็นพวกที่อยู่ขั้นบันไดสูงๆ แล้ว เช่น 35% คุณชอป 40,000 ก็ลดภาษีได้สูงสุด 14,000 บาท นั่นเอง

เท่ากับว่าคุณชอป 40,000 ถ้าชอปสิ่งที่จำเป็นต้องมีอยู่แล้ว = คุณจะนำไปลดในขั้นตอนการคำนวณเงินได้สุทธิ 40,000 บาท ซึ่งจะช่วยให้คุณประหยัดภาษีตามระดับขั้นบันไดที่คุณกำลังเป็น

แต่ถ้านำไปชอปสิ่งที่ไม่จำเป็น คิดแค่ว่าของมันต้องมี แถมไม่ได้มาดูโปรจากเพจ ถูกเสมอ เมียเผลอบัตรพัง เผลอๆ คุณโดนชาร์จไปชาร์จมา ที่คิดว่าจะประหยัดภาษีไป ไปโดนร้านแอบบวกแทน (เพราะต้องเป็นบิล VAT บางร้านจะบวกเผื่อจากราคาเงินสดปกติ 7% เป็นทริคทางบัญชีไปอีก ว่าซั่น!)

ก็ตามนั้นครับ แชร์ได้ แชร์ให้พ่อแม่พี่น้องอ่านกัน สงสัยซิบมาถาม หรือพิมพ์มาถามใต้กระทู้ได้เลยครับ แอดช่วยคุณประหยัดได้ทุกขั้นตอน แล้วค่อยล้วงเงินทอนจากที่คุณประหยัดด้วยการป้ายยาเสมอมา อิอิ

ด้วยรักและจกตัง จากแอดแมว 😻
สวัสดีปีใหม่ 1/1/2566

Back to Top
Back to Top
Close Zoom