กราบพ่อแม่พี่น้องทุกท่าน
วันนี้แอดแมว (เมา) มาเล่าไกด์ “แมวเมาไว้ใจใช้แอร์อินเวอร์เตอร์เบอร์ตอง เฮ้ย! ตัวทอป” ตามที่ก่อนหน้านี้สามสี่วันได้เปิดรับ Feedback พ่อแม่พี่น้องว่าอยากรู้อะไรกันบ้าง
(1) Disclaimer
1. บทความนี้เขียนโดยแอดแมว (คนเดียว) ดังนั้นความมึนหรือเมาบางประการอาจเกิดขึ้นได้บ้าง เช่น อาจจะระบุสเป็กสลับ หรือจำรหัสรุ่นปีของโมเดลแอร์ตีกัน มันจะมีอย่างเดียวที่เป๊ะแน่ๆ คือเรื่องเรตติ้งประหยัดไฟ เพราะเราอ้างอิงโดยตรงกับการไฟฟ้า ดังนั้น ตรงไหนที่คิดว่าแอดแมวเมา ทักท้วงมาได้ในโพสต์หน้าเพจหรืออินบอกซ์แบบสุภาพชนได้เลยครับ 🙂
2. อีกประการหนึ่งคือ แอดแมวฯ ไม่สามารถเอาตารางเปรียบเทียบ “แอร์ทุกรุ่นบนโลก” มาลงได้ ดังนั้นหลักๆ คือจะอยู่บนพื้นฐานแอร์ Wall Type แยกส่วน ที่ไซส์ 9,000 BTU +/- เป็นหลักก่อน โดยเน้นที่แบรนด์เด่นๆ ที่เราหาได้เจอทั่วไป และถ้าหาราคาร้านจำหน่ายไม่ได้ เราจะลงเป็น MSRP พร้อมใส่หมายเหตุไว้ กันงงว่าเอ๊ะ ทำไมร้านนี้เรนจ์นี้ถูก เรนจ์นี้แพง เพราะบางที Reference มาจากคนละที่ โดยสำหรับรุ่นที่ความจุสูงขึ้นไป มันจะแพงขึ้นในสัดส่วนค่อนข้างเท่าๆ กัน ในแต่ละยี่ห้อ/รุ่น ครับ
3. เทคโนโลยี โปรโมชั่น รุ่น และราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง โมเดลเชนจ์ ไมเนอร์เชนจ์ ได้ตามสภาพของความเป็นจริงทางการตลาดและการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ดังนั้น ข้อมูลขณะที่เขียน (ก.ค. 2563) ก็จะมีเท่าที่เขียน และอาจจะมี Verdict อนาคตได้ไม่ไกลมากนัก เพราะตอนนี้ว่าจริงๆ Efficiency ของเครื่องปรับอากาศก็มาได้ไกลกว่าสมัยก่อนมากแล้วครับ
4. บทความนี้ ไม่ได้มีใครจับมือแอดแมวเขียน เป็น Customer Review กลายๆ กึ่งๆ Buyer’s Guide ดังนั้น Carrier หรือ Panasonic บ่ได้จ่ายแอดแมว ขอ Declare ว่าไม่มีผลประโยชน์หรือ Conflict of Interest ณ ที่นี้ แฮ่ม!
(2) ขอบเขตเนื้อหา
1. หลักการเลือกพื้นฐาน: ฟีเจอร์อะไรเด็ด โฆษณาแล้วฟังก์ชั่นใช้งานได้จริงไม่ไก่กา ฟีเจอร์อะไรมีไว้ขายแต่ไม่ค่อยได้ใช้ ฟีเจอร์อะไรคล้ายๆ กัน แต่เรียกหรือใช้ Substance ที่มันต่างกันนิดหน่อย
2. ประหยัดไฟเบอร์ 5 อาจไม่ใช่คำตอบ: ไม้ตายที่แท้จริงคืออะไร EER? SEER? น้ำยาแอร์? หรืออะไรกันแน่?
3. รุ่นสุดคุ้มอยากแนะนำ 4 รุ่น ในเรนจ์ตั้งแต่ “เครื่องเปล่าไม่รวมติดตั้ง” ต่ำหมื่น จนถึง Top of the Line หรือเบอร์ตองมงกุฏเพชร
4. แล้วทำไมแอดแมวถึงเลือกแอร์ “ตัวทอป” ทั้งๆ ที่ตัวถูกกว่าก็มีให้เลือก งบหมื่นเจ็ดได้แอร์ 9,000 BTU เนี่ยนะ!!??
มาเริ่มกันเลยครับ
_______________________________
เครื่องปรับอากาศ (Air Conditioner) ที่อาจเรียกว่าเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตของแฟนเพจหลายๆ ท่าน คิดค้นโดย Mr.Carrier เมื่อปี 1902 หรือ 118 ปีก่อน พอๆ กับรถเบนซินคันแรกบนโลกนั่นแหละ
เครื่องปรับอากาศสมัยใหม่ ถือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกำลังไฟสูง แต่ก็มีความจำเป็นในแทบทุกครัวเรือน โดยเฉพาะผู้อยู่อาศัยในเมือง หรืออาคารสูง การทำงานหลักของระบบทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ คือ การแลกเปลี่ยนความร้อนผ่านน้ำยาแอร์ที่ผ่านการอัดความดัน โดยมีอุปกรณ์สำคัญ 3 ชิ้น คือ คอยล์เย็น (Evaporator) ที่ใช้หลักการระเหยของน้ำยาแอร์ หรือ สารทำความเย็น ซึ่งสามารถดูดความร้อนออกจากอากาศที่ผ่านเข้าออก ทำให้อากาศรอบตัวเย็นลง แล้วอัดแรงดันด้วย คอมเพรสเซอร์ (Compressor) เพื่อให้น้ำยาแอร์ไประบายความร้อนผ่าน คอยล์ร้อน (Condenser) ให้น้ำยาแอร์กลับมาเป็นของเหลวพร้อมวนเข้าระบบลดความดันก่อนนำไปใช้ประโยชน์ในการทำความเย็นเป็นวัฏจักร
อุปกรณ์หลักที่เราคุ้นกันและได้ยินมากที่สุดเวลาเลือกซื้อแอร์ตัวหนึ่ง คือ คอมเพรสเซอร์ ซึ่งที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ก็คือ คอมเพรสเซอร์แบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ที่เขาร่ำลือกันนักกันหนาว่าประหยัดไฟ มันจริงไหมนะ?
เดี๋ยวมีคำตอบให้ครับ
_______________________________
เอ วิธีคิดคุ้นๆ ใช่แล้ว มันเหมือนกับวิธีการคำนวณ “แคลอรี” จากการออกกำลังกายหรือกินอาหาร นั่นแหละครับ แอดแมวคำนวณมาให้แล้ว 1 BTU = 252.2 แคลอรี แต่ไม่ต้องเดินไปบอกหน้าร้านขายแอร์นะ ว่า วันนี้มาซื้อแอร์ขนาด 2.3 เมกะแคลอรี (9,000 BTU) นะ ร้านแอร์จะตบเอา -_-”
1. ความร้อน หรือความแตกต่างอุณหภูมิจากอากาศภายนอก
2. ความร้อนจากรังสีอำมหิต… เอ้ย จำนวนคนในห้อง และกิจกรรม
3. ความร้อนจากโครงสร้างอาคาร ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆ
Compressor
วกกลับมาที่คอมเพรสเซอร์แอร์ หรือที่เราอาจจะเรียกไอ้ตัว Compressor Unit และเข้าใจว่ามันคือตัวที่ “วางไว้นอกห้อง” ซึ่งก็ส่วนใหญ่เป็นอย่างนั้นแหละ แต่จริงๆ ที่พูดไว้พาร์ตแรก ว่าอุปกรณ์สำคัญมันมีตั้ง 3 ชิ้น คือ คอมเพรสเซอร์-คอนเดนเซอร์ และอีแวพอเรเตอร์ เราจะทิ้งชิ้นใดชิ้นหนึ่งไม่ได้ มันไม่ครบวงจร
อินเวอร์เตอร์ปรับเพิ่มลดรอบให้ใกล้เคียงอุณหภูมิที่ตั้ง
ภาพจาก: https://blog.bikroy.com/ac-buying-guide-inverter-vs-non-inverter/inverter/
ถ้าคุณสังเกตโบรชัวร์แอร์ Inverter นิดๆ เขาจะเขียนอย่างเช่น 9200 BTU (3,400-11,200) หรืออะไรทำนองนี้ นั่นแหละคือการลด-เพิ่มระดับการทำงานของ Inverter ได้ การเปิดแอร์นอนข้ามคืนจริงๆ แอร์ 9000 BTU ของคุณ อาจจะวิ่งแค่ 3,400-6,000 ไม่เกินนี้ตลอดคืน
ก็เลยประหยัดไฟ
[1] ระบบฟอกอากาศ ทั้งระบบแผ่นกรองและการเล่นแร่แปรธาตุกับประจุไฟฟ้าทุกกรณี
Plasmacluster Ion เทคโนโลยีลิขสิทธิ์เฉพาะชาร์ป (Sharp) ที่ปล่อยประจุไฟฟ้าทั้งบวกและลบสลับกัน เพื่อทำลายพวกอนุภาคเชื้อโรค รา ไวรัส แบคทีเรีย ฯลฯ และลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ ซึ่งจะมีทั้งในเครื่องฟอกอากาศและแอร์ของชาร์ปเป็นปกติ รวมทั้งตู้เย็น และล่าสุดคงจะเป็นเครื่องดูดไรฝุ่น ที่เรียกว่า ฉาย UV-C ไปด้วย ปล่อยไอออนไปด้วย
นอกจากนี้ ก็ยังมียี่ห้ออื่นๆ ที่ใช้ชื่อต่างกันไป เช่น Daikin ที่มี Active Plasma Ion, Carrier ที่มี X-Ionizer (เราคาดเดากันได้ ว่าระบบการทำงานจะคล้ายๆ Plasma Cluster ของ Sharp หรืออาจจะต่างสถานะประจุกันนิดหน่อย เป็นต้น)
ส่วนระบบแผ่นกรอง เป็นมาตรฐานว่าทุกเครื่องต้องมี แต่จะมาจากวัสดุอะไร มีการ Precharge ประจุไว้แบบไหน สำหรับดักฝุ่นเป็นพิเศษ หรือจะเป็น Activated Charcoal, Catechin ไปจนถึงวัสดุอื่นๆ ที่เอะอะนึกอะไรไม่ออก ก็ดักจับอนุภาคไว้ก่อน คล้ายๆ กับนึกอะไรไม่ออกบอกว่าอาหารเสริมต้านอนุมูลอิสระนั่นแหละครับ
รวมความ คือ
1. ให้ดูว่าแอร์เนี่ย มีกลไกปล่อยประจุไฟฟ้าหรืออนุภาคพิเศษเพื่อฟอกอากาศหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมหรือไม่ ส่วนมากที่มีเทคโนโลยีสูงๆ พวกนี้ จะเป็นรุ่นแพง ยกเว้นชาร์ปที่ใส่มาตั้งแต่รุ่นต้นๆ
2. ส่วนแผ่นกรองนั้น มีทุกรุ่น แต่คุณภาพก็แตกต่างกันไป บางรุ่นอาจจะไม่ได้โฆษณาแผ่นกรองเลยแม้กระทั่งตัวแพงๆ
3. และให้สังเกตอย่างหนึ่งว่า ยี่ห้อไหนกล้าขายประเด็น PM 2.5 ให้เช็คว่า เกิดจากแผ่นกรองละเอียด หรือเกิดจากปล่อยอนุภาค เพราะถ้าเป็นแค่กรอง อาจจะต้องเปลี่ยนบ่อยกว่าปกติเนื่องจากจะตันง่ายครับ อะไรทำนองนั้นนะ
_______________________________
[2] สารเคลือบ หรือวัสดุ/วัตถุดิบในแต่ละชิ้นส่วน เช่น คอยล์ฟ้า ยากันรั่ว ฯลฯ มันอาจจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
Golden Fin ของแอร์ Mavell ที่หลายคนอาจไม่รู้จัก แต่ขายดีมากในภูธรเพราะทำราคาโหด ลดการกัดกร่อน ลดโอกาสรั่วจากไอน้ำเค็ม ซึ่งจริงๆ ก็จะบอกว่าเป็นสารเคลือบกันรั่ว แบบที่ยี่ห้อชั้นนำหลายๆ แบรนด์เขาทำ แต่ Mavell ทำดีตรงมันใส่มาตั้งแต่แอร์ Fixed Speed ตัวล่างๆ เลย
2. เคลือบให้คงความสะอาด ตัวอย่างเช่น คอยล์เย็นหลายๆ ยี่ห้อที่มีการเคลือบสารพิเศษ
Aqua Resin ของ Carrier ซึ่งเป็นจุดขายสำคัญในรุ่น X-Inverter และรองลงมา (แต่ไม่ใช่รุ่นล่างสุด) ว่าทำให้แผงคอยล์เย็นสะอาด ปราศจาเชื้อแบคทีเรีย และได้อากาศบริสุทธิ์
รวมความ คือ
ยี่ห้อไหนไม่โฆษณาให้ตัวเอง ถือว่าพลาด! คุณทำการตลาดไม่เป็น ฮ่าๆๆๆ
_______________________________
เช่น พวกระบบ Auto พิเศษในแต่ละยี่ห้อที่ตั้ง Parameter ไว้ต่างๆ กัน ลดความชื้นอัตโนมัติ อะไรต่อมิอะไรเอง ปรับ Auto ดันลมขึ้นเพดาน ฯลฯ อย่างนี้ก็อาจจะตอบโจทย์หลายคนอยู่ เช่น
ไม่ใช่ไม่ดีนะ หลายยี่ห้อที่ออกแบบดีๆ เช่น Move-Eye ของ Mitsubishi หรือของ Samsung ที่ทำมานานกว่าชาวบ้าน มันอาจจะส่งผลต่อการปรับทิศทางลม หรือการตรวจสอบ ก็ไม่รู้ว่ามียี่ห้อไหนมีตาอินฟราเรดที่ดูระดับความร้อนที่ร่างกายปล่อยมาไหม อาจจะส่งผลต่อการลด-เพิ่มระดับการทำความเย็น เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด แต่ก็แลกมาด้วยการอัพราคาอีกประมาณนึง
ระบบ IoT/WiFi และ Remote Sensing:
การเปิดแอร์ก่อนถึงบ้าน 2-3 นาที มันก็โอเค แต่ถ้าคุณไม่เซนซิทีฟขนาดว่าจะต้องเข้าไปปุ๊บ อาห์ ห้องเย็นสบายพร้อมหลับ หรือเป็นคนหลับยากที่ต้องมีแอร์กล่อม หรือเป็นคนที่ไม่ได้อยู่บ้านเลยแต่อยาก Monitor สถานะการทำงานของห้องคนที่คุณรักหรือเคารพ แบบนี้ไม่ต้องมีก็ได้ ณ ปัจจุบัน แต่ถ้าอนาคตมันถูกลงมากๆ จนการฝังเทคโนโลยีแบบนี้ทำกันเป็นปกติ เพิ่มแค่พันเดียวจากรุ่นทั่วไป อย่างนี้แอดแมวก็ว่า มีดีกว่าไม่มี 🙂
ต้องดูว่าแต่ละรุ่นสามารถทำงานแบบไหนได้ เช่น บางตัวสามารถสร้างน้ำแข็งมาเกาะแล้วเร่งรอบทำงานบางอย่างเพื่อโฆษณาว่าเป็นระบบ “Self-Cleaning” ซึ่งอาจจะดี แต่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน หรือทำให้เกิดรอบการทำงานที่ไม่จำเป็นไหม? หรือการฟอกอากาศในขณะที่ไม่ได้อยู่ห้อง มันก็ดี แต่เราฟอกให้ใครดม อันนี้ก็น่าคิด
* บนพื้นฐานว่า ถ้ามีงบพร้อมจ่ายตัวทอปที่มีทุกสิ่ง ซื้อเลยครับ อันนี้เราแค่กำลังมองว่าแอร์ระดับ Budget ที่ฟีเจอร์ครบแล้วคุ้มค่า มีอะไรที่เป็นต้นทุนทำให้มันแพงโดยใช่เหตุไหม แค่นั้นนะ
EER SEER น้ำยาแอร์ และความประหยัดไฟ!!?
ค่า EER และ SEER เป็นดัชนีแสดงประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศที่ดี โดย EER ย่อมาจาก Energy Efficiency Ratio ในขณะที่ S คือ “Seasonal” หรือคำนวณการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศตามฤดูกาลเข้ามาเป็นปัจจัยด้วย
แอร์ทั่วไป หรือ Fixed Speed “เต็มบีทียู” ด้วยมันทำงานเต็มทุกครั้งที่ไม่ตัด ดังนั้นเอาง่ายๆ เลย ยิ่งร้อนยิ่งแย่ เพราะจะทำงานบ่อย โดยเฉพาะถ้าแอร์ BTU ต่ำๆ อื้อหือ พี่เหนื่อยหนัก ดังนั้นสมัยก่อนถ้าห้องใหญ่ Default ยัด BTU ยักษ์ๆ รับมือไหวแน่
แต่ถ้าเป็น Inverter อันนี้ด้วยมันปรับระดับการทำงานได้ด้วย การคำนวณให้ละเอียดจึงสนุกสนานกว่าเดิมว่า “แล้วถ้าร้อนกว่านี้ มันทำงานหนักขึ้นขนาดไหน” เช่น สมมติถ้าอุณหภูมิอากาศภายนอกต่ำกว่า 25 องศา Inverter จะทำงานที่ระดับต่ำสุด (Min BTU) 40 องศา จะทำงานที่ระดับสูงสุด (Max BTU) ค่าผันแปรระหว่างนั้นที่ต้องมาดูกันว่า Inverter จะทำงานรับมือเปลี่ยนแปลงได้ดีแค่ไหน สมมติตัวนึงจัดการพลังงานหรือทำความเย็นได้ดี อุณหภูมิเพิ่มจากฐานมา 4 องศา พี่ก็ยังหมุนรอบเกือบต่ำสุด อันนี้ SEER จะดีกว่าอีกประมาณนึง ก็นี่แหละครับคุณผู้ชม
และเพื่อประโยชน์ผู้บริโภค ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงต้องแสดงค่า SEER จากฐานอุณหภูมิบ้านเราและเกณฑ์ของการไฟฟ้าฯ ไว้เป็นหลักการเปรียบเทียบความประหยัดไฟนั่นเอง โดยคำนวณได้ดังนี้
👍👍👍
_______________________________
รุ่นสุดคุ้มอยากแนะนำ
1. Panasonic CS-XUVKT
“สุดยอดประหยัดไฟ nanoe”
แอดแมว’s Editor’s Choice
จุดเด่น: ฟอกอากาศ nanoe, SEER สูงสุด 24.33 เบอร์ 5 3 ดาวเต็ม ลดรอบ/เพิ่ม BTU ได้ถึงระดับ <3,000/>12,000 เรียกได้ว่าอัตราทดดีที่สุดในตลาด, คอยล์ร้อนและเย็นเคลือบสารกันรั่ว (Blue Fin)
จุดด้อย: คอมใหญ่ ติดตั้งระเบียงบางทีติด ไม่เงียบเท่าไหร่ ไม่มี Slim แบบ Daikin ตัวล่างๆ
ราคาเริ่มต้น 15,400 บาท (ไม่รวมติดตั้ง) ที่รุ่น 9,069 BTU
ประกันคอมเพรสเซอร์ 10 ปี แผงคอยล์เย็น 3 ปี อะไหล่อื่น 1 ปี
[ราคาโปร Modern Air: Walk-in TMB ลดอีก 1,000 บาท จากราคาตั้ง 16,900 รวมถอดแอร์เก่า]
วาร์ป (Update LINK เป็น XK-XKT 2021 nanoeX แล้ว): https://bit.ly/2Zh6TTx
_______________________________
2. Carrier X-Inverter (2019) TVAA Series
“คุณสมบัตินับสิบประการ”
รางวัลขวัญใจมหาชนข้ามปี
จุดเด่น: SEER 24.00 3 ดาวใสๆ คอมทนไฟกระชาก เป็น 3 ดาวที่หาอะไหล่ง่ายและถูกเกือบสุดในตลาด คอยล์เคลือบ Aqua Resin สะอาดตั้งแต่คอยล์ยันฟิลเตอร์
จุดด้อย: เสียงดังกว่าชาวบ้าน เซนเซอร์เยอะ
ราคาเริ่มต้น 13,500 บาท (ไม่รวมติดตั้ง) ที่รุ่น 9,200 BTU
ประกันคอมเพรสเซอร์ 10 ปี อะไหล่ภายใน 5 ปี
วาร์ป (Update Link เป็นรุ่น 2021 แล้ว): https://bit.ly/3gNw1ad
_______________________________
3. Daikin Super-Smart Inverter (FTKM)
“ขวัญใจเทพรุ่นโคตรทน”
ประกันคอมเพรสเซอร์ 5 ปี อะไหล่ภายใน 3 ปี แผงคอยล์ร้อน/เย็น 3 ปี
วาร์ป (อัพเดต Link เป็น FTKC เริ่มต้น 16,900 แล้ว): https://bit.ly/3iSWeGw
รองทอปมหาเทพรุ่นช่างยกนิ้ว
จุดเด่น: SEER 21.80 ระบบฟอกพร้อมเอนไซม์ต้านสารก่อภูมิแพ้ ทนเยี่ยงแรด ทดต่ำได้ถึง 3,7xx BTU สวิงซ้ายขวาขึ้นลงอัตโนมัติ แผ่นกรอง Platinum, PM 2.5, ไฟฟ้าสถิติ, Coat คอยล์เย็นกันน้ำ+น้ำมัน
จุดด้อย: กั๊ก SEER ไว้ให้ตัวโคตรทอป (Moving Eye ตัว 30,000 บาท+)
ราคาเริ่มต้น 16,800 บาท (ไม่รวมติดตั้ง) ขนาด 9,554 BTU
ประกันคอมเพรสเซอร์ 5 ปี อะไหล่ภายใน 1 ปี แผงคอยล์ร้อน/เย็น 3 ปี
วาร์ป: https://bit.ly/3h18kvx
สุดท้าย “ทำไมแอดแมวต้องเบอร์ตอง เฮ้ย ตัวทอป”
ระยะยาวที่ประหยัดไฟมันคุ้มส่วนต่าง และ ฟีเจอร์ครบครัน+อากาศสะอาด ไม่ใช่แค่เย็น เพราะรุ่นแอดแมวเอง ปรับ BTU ต่ำสุดๆ ได้ต่ำ 3,000 ดังนั้นค่าไฟต่อเดือนเผลอๆ เปิดเฉลี่ยวันละ 8 ชม. มีต่ำกว่า 300 ง่ายๆ ในขณะที่พวกนั้น หรืออินเวอร์เตอร์ตัวล่างๆ บางตัวทำความเย็นได้พอกัน แต่กด BTU ไม่ได้+SEER ต่ำกว่า
ถ้าตีเสียว่าใช้ 5 ปี ประหยัดไฟกว่าเดือนละ 50 บาท ก็ 3,000 บาทแล้วครับ ✌ ดังนั้นเรนจ์ราคาที่เหมาะสมจริงๆ คือ หาตัวที่ BTU กำลังดี แล้วไปฟีเจอร์ทอป+ประหยัดไฟที่สุดเท่าที่จะจ่ายไหว
ขอให้เย็นฉ่ำชื่นใจกันทุกท่านฮะ เมี้ยวววว
สงวนสิทธิ์ ห้ามนำไปใช้หรือก็อปปี้ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้เพื่อการพาณิชย์โดยไม่ได้ขออนุญาตจากทางทีมงาน แต่แชร์ได้-ถามได้ครับ ทั้งช่องทาง Inbox หรือใต้โพสต์
แอดแมว
11 กรกฎาคม 2563